“Data Journalism กับการปรับตัวของสื่อไทยในยุคข้อมูลข่าวสาร”
”ทุกวันนี้องค์กรสื่อต้องทำหน้าที่ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงและความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ทำให้สื่อจำนวนหนึ่งหันไปเน้นยอดความนิยมอันนำมาสู่รายได้จนละเลยต่อกรอบจริยธรรมซึ่งเป็นการสั่นคลอนความเชื่อถือและศรัทธาของประชาชน
วิกฤตศรัทธานี้อาจนำไปสู่การเรียกร้องการกำกับดูแลโดยรัฐอันสุ่มเสี่ยงต่อการจำกัดเสรีภาพสื่อ จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สื่อมวลชนไทยจะต้องเรียกคืนความเชื่อมั่นอีกครั้ง โดยหนึ่งในทางเลือกที่น่าจับตา คือ Data Journalism* เพราะเป็นนวัตกรรมการรายงานข่าวซึ่งมีจุดเด่นเรื่องความน่าเชื่อถือ
นอกจากนี้ด้วยลักษณะเฉพาะของ Data Journalism ที่เป็นการแปรรูปข้อมูลดิบซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำนวนมากในยุคดิจิทัลมาเป็นสารสนเทศที่มีมูลค่ามากขึ้น ก็อาจจะเป็นทางเลือกใหม่ในการหารายได้ (อย่าง Bloomberg ที่สร้างรายได้จากการขายข้อมูลเฉพาะทางให้แก่สมาชิก)
ทั้งนี้การนำ Data Journalism มาปรับใช้ในองค์กรนั้นสามารถปรับเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มแบ่งพื้นที่ให้กับเนื้อหาที่มาจาก Data Journalism ทีละส่วน และอาจเริ่มใช้วารสารศาสตร์ข้อมูลในประเด็นที่มีสีสันตรงกับรสนิยมของกลุ่มเป้าหมาย แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นซับซ้อนของข้อมูลเพื่อให้สามารถรักษาความนิยมจากผู้รับสารไปพร้อมกับยกระดับความเข้าใจข้อมูลให้สังคม ซึ่งเป็นการรักษาสมดุลระหว่างการสร้างผลกำไรกับการสร้างสรรค์สังคม”
ส่วนหนึ่งจากบทความ ‘Data Journalism กับการปรับตัวของสื่อไทยในยุคข้อมูลข่าวสาร’ หนังสือครบรอบ 22 ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ 4 กรกฎาคม 2562
------------------------------------------
*Data
Journalism
เป็นการสื่อสารข้อเท็จจริงบนฐานคิดแบบวัตถุวิสัย
(Objective) โดยใช้ข้อมูลที่มีโครงสร้าง
(Structured data)
เป็นแกนหลักในการเล่าเรื่อง
ซึ่งเป็นการหลอมรวมจุดแข็งของคนข่าวอย่างการตั้งคำถาม
จับประเด็น และการเล่าเรื่อง
เข้ากับลักษณะเฉพาะของยุคสังคมสารสนเทศที่เต็มไปด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล
ดร.เอกพล
เธียรถาวร
หัวหน้าแขนงวิชาวารสารศาสตร์
หนึ่งในทีมผู้สอนหลักสูตรปริญญาเอก
รายวิชาระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสารขั้นสูง
และวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับดุษฎีบัณฑิต
#นิเทศศาสตร์สวนสุนันทา #commartsssru