ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประกายกาวิล ศรีจินดา กรรมการบริหารหลักสูตร นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รับเชิญเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์บทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี 2562 เรื่อง “การศึกษาในยุคดิจิทัล : ความท้าทายของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” (The 3rd National Conference on Education in the Digital Era: Challenges for Humanities and Social Sciences) ในวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2562 ณ อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในการนี้ ในห้องประชุมย่อย ที่ว่าด้วย “ปรากฎการณ์และพฤติกรรมสังคม” (133) มีผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์งานวิจัยจำนวน 2 ท่าน คือ รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประกายกาวิล ศรีจินดา จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยพบว่ามีงานวิจัยเป็นประเด็นที่น่าสนใจที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางสังคมหลายเรื่อง ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่สนใจ ในมิติของการสื่อสาร ประกอบด้วย
-
ตรรกะวิบัติในสื่อสังคมออนไลน์ (พิละมภา
เปาวะนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
-
ปรากฏการณ์ทางสังคม และความท้าทายของสื่อ
:
กรณีศึกษาภารกิจการช่วยเหลือระดับโลกของถ้ำหลวง
จังหวัดเชียวราย ประเทศไทย (ดร.ภีณี
แก้วบวร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)
-
การเรียนรู้คุณค่าเชิงบวกจากศิลปินไอดอลและกลุ่มแฟนคลับ
กรณีศึกษา กลุ่มแฟนคลับศิลปิน BNK48
(ดร.ชลิดา จูงพันธ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
-
เนื้อหาวิดีโอ
“แคมเปญเที่ยวไทยแท่”
ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยส่งผลต่อทัศนคติของกลุ่มเจ็นเนอเรชั่น
ซี (พัทธ์ธีรา คงแก้ว
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่)
-
เครือข่ายการเรียนรู้ของคนดนตรีไทย :
ข้อสังเกตนัยเชิงวิจารณ์ (ดร.ไอยเรศ
บุญฤทธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
-
พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาบนโปรแกรมประยุกต์เฟซบุ๊กของกลุ่ม
“Generation C” (ฉัตรฎาพร
นาคขาว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หาดใหญ่)
-
สาเหตุที่ส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านระบบออนไลน์
(ดร.วุทธิชัย ลิ้มอรุโณทัย
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บางเขน)
สำหรับการจัดประชุมวิชาการระดับชาติฯ ในครั้งนี้ เพื่อนำองค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มาเผยแพร่ ส่งเสริม และพัฒนาสังคมในวงกว้าง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัย เกิดฐานข้อมูลวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการศึกษา ความร่วมมือทางวิชาการ รวมไปถึงการสร้างความก้าวหน้าด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและประเทศไทยต่อไป
“เป็นที่น่ายินดีว่ามีงานวิจัยทุกเรื่องนั้น มีความน่าสนใจและสามารถสร้างคุณูปการให้กับสังคมไทยได้อย่างท้าทายสมกับชื่องานในวันนี้” ผศ.ดร.ประกายกาวิล กล่าวในที่สุด
#นิเทศศาสตร์สวนสุนันทา #commartsssru