“โครงสร้างของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในระบบทุนนิยมในช่วงเวลาปัจจุบันมีลักษณะที่เชื่อมโยงถึง สายสัมพันธ์ระหว่างผู้กำกับภาพยนตร์กับบุคลากร วงการภาพยนตร์ไทยทั้ง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย นายทุน เจ้าของโรงภาพยนตร์ สายหนัง และ รัฐบาล ต่างมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้กำกับภาพยนตร์ทั้ง ทางตรงและทางอ้อมที่หวังผลประโยชน์จากภาพยนตร์ที่ถูกผลิตผ่านผู้กำกับภาพยนตร์ไปใช้ให้เกิดรายได้มากที่สุดในทุกช่องทาง ให้เป็นไปตามความคาดหวังของนายทุนตามหลักการของระบบทุนนิยม ก่อให้เกิดผลกระทบแก่ผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีต่อการสร้างสรรค์ผลงาน คือ การถูกครอบงำจากนายทุน การผลิตซ้ำ การให้ความสำคัญรายได้มากกว่าคุณค่าทางศิลปะ และถูกจำกัดเสรีภาพในการนำเสนอความคิด
กลุ่มผู้กำกับภาพยนตร์มีการปรับตัวในการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ที่ถูกผลิตขึ้นจากการทำงานในระบบทุนนิยมอยู่ในลักษณะที่พยายามรักษาความเป็นตัวเองให้มากที่สุด เหมือนกับการผลิตภาพยนตร์ในระบบทุนอิสระ แม้ว่าระบบทุนนิยมจะถูกควบคุมจากนายทุนที่มาจาก ค่ายภาพยนตร์ โดยเฉพาะการสะท้อนภาพและมุมมองที่มีต่อกลุ่มชนชั้นล่างในสังคมไทยปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และหากระบบทุนนิยมทำให้พวกเขาได้แสดงถึงความเป็นตัวเองอย่างเต็มที่พวกเขาก็ไม่ปฏิเสธที่จะเข้ามาทำงานในระบบทุนนิยมหรืออาจจะเข้ามาทำงานทั้ง 2 ระบบ”
ดร.พงศวีร์
สุภานนท์
กรรมการบริหารหลักสูตร
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสารภาครัฐและภาคเอกชน
#นิเทศศาสตร์สวนสุนันทา #commartsssru