“วาทกรรมของภาพแฟชั่นชุดว่ายนำ้สตรี ยุคก่อนและหลังกำเนิดนิตยสารแฟชั่นในประเทศไทยนั้น ผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดวิถีปฏิบัติของวาทกรรม กรอบวิธีคิดและการเปลี่ยนผ่านของวาทกรรมภาพแฟชั่นชุดว่ายน้ําสตรีในนิตยสารไทย ภายใต้บริบทด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม บริบทด้านเพศสภาพ บริบทด้านการถ่ายภาพ บริบทด้านนิตยสารและสิ่งพิมพ์ บริบทด้านธุรกิจ ด้านภาพยนตร์ไทย บริบทด้านธุรกิจการโฆษณา และบริบทด้านธุรกิจแฟชั่น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง พ.ศ. 2475 ถึงช่วงก่อนกำเนิดนิตยสารแฟชั่น ในปี พ.ศ. 2516 ยุคที่ 2 พ.ศ. 2516 ถึง พ.ศ. 2541 และยุคที่ 3 หลัง พ.ศ.2541 จนถึงปัจจุบัน
ยุคที่ 1 นั้น รัฐมีการแสดงอำนาจในการกดทับ ความหมายของสตรีในชุดว่ายน้ำ ให้อยู่ภายใต้วาทกรรมของ “ความเป็นชาติกับการลดทอนทางเพศ” อำนาจของรัฐที่มีวิถีในการฏิบัติต่อภาพแฟชั่นชุดว่ายน้ำสตรีในแบบของการเชิดชู กำกับความหมายให้อยู่ในแบบจารีต ลดทอนความเป็นเพศลง(desexualized) ทําให้ไม่สามารถมองเห็นภาพหรือความหมายของชุดว่ายน้ําในการ ทำหน้าท่ีเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่เพื่อการว่ายน้ำเลย ในขณะที่ยุคท่ี 2 ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงกรอบวิธีคิดของภาพแฟชนั่ ชุดว่ายน้ำในแบบจารีตโดยการกดทับ จากอำนาจรัฐใน ยุคท่ี 1 มาเป็นการแสดงอำนาจควบคุมและการกดทับทางวาทกรรมของธุรกิจบันเทิงและธุรกิจ แฟชั่น ผ่านการผลิตภาพแฟชั่น ชุดว่ายน้ำที่ดูดึงดูดทางเพศ ทั้งน้ี เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ
สําหรับในยุคท่ี 3 เป็นการเปลี่ยนผ่านวาทกรรมของภาพแฟชั่น ชุดว่ายน้ำมาสู่ความเซ็กซี่อย่างเต็มรูปแบบ อำนาจของธุรกิจแฟชั่น ทำหน้าที่กดทับและผลิตวาทกรรมของภาพชุดว่ายนำ้ให้ เปลี่ยนแปลงและเลือนไปจากหน้าที่หลักคือการสวมใส่เพื่อว่ายนำ้ไปสู่การทำหน้าที่ในการเปิดเผย ร่างกาย ผ่านรูปแบบภาพในแบบภาพถ่ายแฟชนั่ เพื่อแสดงออกถึงความเซ็กซี่ ยั่วยวนทางเพศ ดูล้ำสมัยสามารถผสมผสานสิ่งที่ดูไม่เข้ากัน หรือไม่เหมาะสมกันมาอยู่ด้วยยกันอย่างลงตัว”
ดร.สมศักดิ์
คล้ายสังข์
กรรมการบริหารหลักสูตร
นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการสื่อสาร
#นิเทศศาสตร์สวนสุนันทา #commartsssru